ชามตรา ไก่
จากไก่ขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของนครลำปาง รังสรรค์ผลิตภัณฑ์ลือชื่อ “ชามตราไก่”
ผลิตภัณฑ์เซรามิคที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวและถือได้ว่า
เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของลำปางคือ ชามตราไก่ เหตุที่ชาวบ้านนิยมวาดรูปไก่ลงบนชามเซรามิค
เพราะลำปางเป็นเมืองเก่าในดินแดนล้านนาอันมีไก่ขาวเป็นสัญลักษณ์ ดังนั้นเราจึงเห็นลวดลายของไก่
บนชามเซรามิคได้โดยทั่วไปในจังหวัดลำปาง
คุณวรัญญู สาปคำ และบิดา ตัดสินใจตั้งโรงงานเซรามิคขึ้นด้วยเงินลงทุนเริ่มแรกเพียง 1 ล้านบาท
เพื่อช่วยแก้ปัญหาการย้ายถิ่นฐานเข้าไปทำงานในเมืองของชาวบ้าน และยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการทำเครื่องปั้นของบรรพบุรุษไว้ จึงทำให้ชาวบ้านกว่า 20 หลังคา เรือนในหมู่บ้านศาลาเม็ง หมู่ที่ 8 ตำบล
ท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ที่เมื่อว่างเว้นจากการเกษตรอันเป็นงานหลักประจำครอบครัว ก็นำเวลา
ที่เหลือมาใช้เนื้อที่ภายในบ้านของตน จัดตั้งเป็นโรงงานขนาดย่อม เพื่อผลิตถ้วยชามตราไก่ และผลิตภัณฑ์เซรามิค โดยส่งจำหน่ายผ่านทางของคุณวรัญญู อันเป็นการขจัดปัญหาการย้ายถิ่นและสร้างรายได้ให้กับ
ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการทำถ้วยชามตราไก่และผลิตภัณฑ์เซรามิคอื่น ๆ มีดังนี้ เริ่มต้นจากการขึ้นรูป ซึ่งในที่นี้
มี 2 วิธีด้วยกันคือ การขึ้นรูปด้วยการปั้น และการขึ้นรูปด้วยการหล่อน้ำดิน ขั้นตอนต่อจากนั้นคือ การวาด
ลวดลาย ส่วนใหญ่มักนิยมวาดรูปไก่แล้วทำการเติมสีตามลวดลายที่วาดไว้ หลังจากสีแห้งแล้วก็นำไปชุบเคลือบ เพื่อทำเงากระจก เสร็จแล้วนำไปเผาด้วยเตาไฟเบอร์ที่ความร้อนอุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส
เมื่อได้ผลิตภัณฑ์เซรามิคที่เสร็จสิ้นตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วนั้น ขั้นต่อไปคือ การคัดคุณภาพสินค้าและ
บรรจุหีบห่อ เป็นการเสร็จตามกระบวนการทั้ง 7 ขั้นตอน โดยผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น ใช้เวลาถึง 7 วัน เนื่องจาก
ต้องใช้เวลา 1 วัน ต่อ 1 ขั้นตอน
หมู่บ้านศาลาเม็งแห่งนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวโอทอปของจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 แต่ที่นี่มิได้ผลิตชามตราไก่ที่มีหลายขนาดและหลายรูปทรงอันมีชื่อของจังหวัดลำปางเพียงอย่าง
เดียวเท่านั้น แต่ยังมีผลิตภัณฑ์จากเซรามิคชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โมบาย แจกัน ชุดอาหาร ของแต่งบ้าน
ของที่ระลึก ซึ่งมีทั้งรูปแบบ สีสัน และลวดลายที่แปลกตา โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ได้รับความสนใจจาก
นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นสินค้าส่งออกไปยังประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่นอีกด้วย
สนใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิคเป็นของฝากจากภาคเหนือของไทย
From the modest white hen symbolizing the city of Lampang , creative touches have turned
this particular fowl into a staying design on ceramic bowls , a popular product commonly know as Cham
Tra Kai
Cham Tra Kai , a ceramic bowl with a hen design , is the most popular product favored by
Visitors to Lampang as the design is considered the symbol of the province , However the reason ceramic
Bowls from Lampang are desorated with a hen is attributed to the fact that Lampang , being an ancient
city of the Lamma region, has been symbolized traditional by the white hen . It has , accordingly ,found
itself on the surface of ceramic bowls throught the province.
Warunyoo Sabkham and his father decided to set up a ceramic factory initially with one
Million bath in an attempt to ease the problems of the local people migrating to the urban areas in search
Of employment , and a means to help preserve the age-old art of pottery.
As a result , more than 20 households in the village of Sala Meng , moo 8 tumboon Tha
Pha , district of Koh Kha , Lampang provice , have transformed any free space in their residences into
Mini workshops to chum out bowls and cups with the hen design and other ceramic products. These are
Eventually marketed through Khun Warunyoo ‘s factory, effectively helping solve the migration problem
While boinging supplementary income to lecal people . This approach seems to work well with local folk,
Particularly after the harvest, which is the majorsource of income.
Making Cham Tra Kai bowls , cups and other ceramic products starts with the moldings
Based on either of two techniques, throwing by sculpting and hand building with the aid of water to keep
The clay moist. Once the throwing is over , the design [normally a hen ] follows with the next stage coloring-waiting in the wings.
After coloring the products have to be left to dry thoroughly before glazing to secure a
Glossy effect . At this point the pottery is ready for the fiber kiln that earches temperatures of 1,250 Celsius. The item is then subject to a quality control test ensure only the best products are packaged
For distribution . In general ,each item goes through seven stages and takes seven days to complete,
Only one stage per day until the entire production process is completed.
In 1987 ,Sala Meng village was named Lampang ‘s OTOP [one tumboon one product]
Tourist village, but the famouse Cham Tra Kai , of different shapes and forms , is far from the only
Product emanaging from this province. Lampang boasts other ceramic products including mobiles, vases, tableware and decorative items as well as souvenirs of different sorts, colors and distinct designs that
Are well received by both foreign and domestic tourists . Indeed, Cham Tra Kai is exported to Japan,
And Europe.
You may purchase and have these products souvenirs of northern Thailand.
วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552
หนังตะลุง
หนังตะลุงเป็นมหรสพพื้นเมืองของภาคใต้ ควบคู่กับมโนราห์ถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาเกือบ 2 ศตวรรษ วิวัฒนาการให้เกิดความเหมาะสมกับการสมัยตลอดมา ถ้าเราจะพูดว่าหนังตะลุงเป็นสัญลักษณ์ของภาคใต้ ก็คงไม่ไกลความจริงนัก
หนังตะลุงมีอิทธิพล มีบทบาทต่อชาวชนบทมาก เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวชนบทก็ว่าได้ การพากย์หนังตะลุงเป็นศิลปสูงส่ง นอกจากให้ความบันเทิงแล้ว ให้ความรู้ให้ความคิด หนังตะลุงเป็นสื่อกลางที่ดีระหว่างรัฐกับประชาชน
หากดูหรือฟังอย่างผิวเผิน อาจรู้สึกว่าเป็นการเล่นที่ให้ความรื่นเริงอย่างธรรมดา แต่ถ้าดูหรือฟังอย่างพินิจพิเคราะห์เป็นการละเล่นที่น่าทึ่งมาก ยากที่จะหามหรสพประเภทใดมาเทียบเคียงได้ นายหนังตะลุงคนเดียวต้องเชิดต้องพากย์รูปหนังทุกตัว เฉพาะตัวตลกในการแสดงเรื่องหนึ่งๆต้องใช้ประมาณ 15 ตัว ใช้เสียงพูดแตกต่างกันทุกตัว เสียงพระ เสียงนาง เสียงยักษ์ เสียงคนชรา สามารถทำได้อย่างกลมกลืน หนังตะลุงไม่มีฉากใดๆประกอบเหมือนโขน ภาพยนตร์ละคร มีแต่จอผืนเดี่ยวเป็นฉาก ต้องสร้างภาพพจน์ด้วยบทพากย์ที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้น คนๆ เดียวสามารถตรึงคนดูไว้ได้ตลอดคืน
หนังตะลุงเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของวัฒนธรรมภาคใต้ ในปัจจุบันนี้ยังคงมีหนังตะลุงที่ยังแสดงอยู่ทั่วภาคใต้อีกนับร้อยคณะ จังหวัดที่มีหนังตะลุงมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรัง มีจำนวนพอๆกัน นอกจากนั้มีจำนวนค่อนข้างประปราย ปัญหาอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งของการแสดงหนังตะลุงในปัจจุบัน คือขาดลูกคู่ ลูกคู่คือผู้บรรเลงเครื่องประโคมดนตรี หาผู้ฝึกหัดใหม่แทบไม่มี
ความฝันของท่านผู้เขียนเรื่อง"ความรู้เรื่อง หนังตะลุง" คือท่านอาจารย์พ่วง บุษรารัตน์ว่า "อยากให้ใช้เทคโนโลยี่เพิ่มขึ้น เช่น ทำอย่างไรจึงจะมีฉากจริงประกอบ น่าจะฉายภาพช่วย ทำอย่างไรเวลาใช้อภินิหารจึงเกิดแสง เกิดกลุ่มหมอกควัน วันหนึ่งความฝันของผู้เขียนอาจเป็นความจริงก็เป็นได้" และบัดนี้ Webmaster สามารถทำให้ความฝันของท่านบางอย่างเป็นจริงได้แล้ว เช่นบทฤาษี บทออกยักษ์ บทตลก แต่เป็นที่น่าเสียดายท่านได้ล่วงลับไปเสียแล้ว
หนังตะลุงมีอิทธิพล มีบทบาทต่อชาวชนบทมาก เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวชนบทก็ว่าได้ การพากย์หนังตะลุงเป็นศิลปสูงส่ง นอกจากให้ความบันเทิงแล้ว ให้ความรู้ให้ความคิด หนังตะลุงเป็นสื่อกลางที่ดีระหว่างรัฐกับประชาชน
หากดูหรือฟังอย่างผิวเผิน อาจรู้สึกว่าเป็นการเล่นที่ให้ความรื่นเริงอย่างธรรมดา แต่ถ้าดูหรือฟังอย่างพินิจพิเคราะห์เป็นการละเล่นที่น่าทึ่งมาก ยากที่จะหามหรสพประเภทใดมาเทียบเคียงได้ นายหนังตะลุงคนเดียวต้องเชิดต้องพากย์รูปหนังทุกตัว เฉพาะตัวตลกในการแสดงเรื่องหนึ่งๆต้องใช้ประมาณ 15 ตัว ใช้เสียงพูดแตกต่างกันทุกตัว เสียงพระ เสียงนาง เสียงยักษ์ เสียงคนชรา สามารถทำได้อย่างกลมกลืน หนังตะลุงไม่มีฉากใดๆประกอบเหมือนโขน ภาพยนตร์ละคร มีแต่จอผืนเดี่ยวเป็นฉาก ต้องสร้างภาพพจน์ด้วยบทพากย์ที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้น คนๆ เดียวสามารถตรึงคนดูไว้ได้ตลอดคืน
หนังตะลุงเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของวัฒนธรรมภาคใต้ ในปัจจุบันนี้ยังคงมีหนังตะลุงที่ยังแสดงอยู่ทั่วภาคใต้อีกนับร้อยคณะ จังหวัดที่มีหนังตะลุงมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรัง มีจำนวนพอๆกัน นอกจากนั้มีจำนวนค่อนข้างประปราย ปัญหาอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งของการแสดงหนังตะลุงในปัจจุบัน คือขาดลูกคู่ ลูกคู่คือผู้บรรเลงเครื่องประโคมดนตรี หาผู้ฝึกหัดใหม่แทบไม่มี
ความฝันของท่านผู้เขียนเรื่อง"ความรู้เรื่อง หนังตะลุง" คือท่านอาจารย์พ่วง บุษรารัตน์ว่า "อยากให้ใช้เทคโนโลยี่เพิ่มขึ้น เช่น ทำอย่างไรจึงจะมีฉากจริงประกอบ น่าจะฉายภาพช่วย ทำอย่างไรเวลาใช้อภินิหารจึงเกิดแสง เกิดกลุ่มหมอกควัน วันหนึ่งความฝันของผู้เขียนอาจเป็นความจริงก็เป็นได้" และบัดนี้ Webmaster สามารถทำให้ความฝันของท่านบางอย่างเป็นจริงได้แล้ว เช่นบทฤาษี บทออกยักษ์ บทตลก แต่เป็นที่น่าเสียดายท่านได้ล่วงลับไปเสียแล้ว
ผ้าทอ
ผ้าทอ ในบางหมู่บ้านยังมีการทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง โดยใช้ฝ้ายที่ปลูกขึ้นเอง เช่น บ้านหลวง อำเภอแม่ทะที่นิยมทอเป็นผ้าลายเชิง บ้านทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน นิยมทอเป็นผ้าลายยก นอกจากนี้ยังมีที่อำเภอแจ้ห่ม และที่ บ้านฝ้าย ตำบลพิชัย อำเภอเมือง ซึ่งมีโรงงานทอผ้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากฝ้ายทอมือ
ข้าวตั้งท้อง Rice is Pregnant
คนไทยเชื่อว่าในต้นข้าวมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า “ขวัญข้าว” หรือ “ แม่โพสพ” สถิตอยู่
จึงต้องประกอบพิธีกรรม เพื่อแสดงความเคารพ ด้วยเหตุนี้จึงได้คิดสร้างสรรค์ประเพณี พิธีกรรมที่เกี่ยวกับ
ข้าวและการทำนาขึ้น
เมื่อข้าวตั้งท้อง หลังจากปักดำนาได้ระยะหนึ่ง ชาวบ้านเชื่อว่าแม่โพสพจะมีอาการเหมือน
คนแพ้ท้อง จึงจัดให้มีพิธีทำขวัญข้าวขึ้น โดยเฉพาะพวกผู้หญิงจะพากันไปเยี่ยมและพูดคุยกับแม่โพสพ
เมื่อถึงข้าวกอที่ขึ้นงอกงามที่สุดก็จะปักหลัก 1 หลัก นำชะลอมบรรจุหมากพลูจีบ ผลไม้
เปรี้ยวหวานมาให้แม่โพสพ มีการหวีตัดแต่งใบข้าว พรมน้ำอบ พร้อมกับผูกชะลอม ไว้กับหลัก ใช้ด้ายสีแดง ขาว เหลือง ผูกคอชะลอม เอาอกเอาใจข้าวเหมือนการเอาใจคนท้อง พูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ บอก
กล่าวกับแม่โพสพให้ไร่นาได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ไม่มีสิ่งใดมารบกวนที่นา
“แม่โพสี แม่โพสพ แม่นพดารา ไปอยู่ที่ต้นไร่ปลายนา ขอเชิญแม่มา”
Traditionally ,Thai people believe that “Khesn khao[rice spirit] ,or “Mae Phosop
[rice mother] , resides in the rice crop . They consider that it is necessary to perform a ceremony
To show respect and to give strength to the plant . This led to the creation of rites concerning rice
Farming and the rice crop.
When the rice crop begins to seed,people usually say that the rice begins to be
Pregnant.After a period of farming , it is believerd that Mar Phosop will have morning sickness.
Therefore,the khwan khao rite is held and farm wo,em usually pay a visit anv talk to Mae Phosop
When farmers arrive at one of the most beautiful thickets of rice ,they will hang
A bamboo basket at the end of a small flag post in the field. The basket contains betel and betal nut
And sweet and sour fruits as an offering to Mae Phosop. They will also comb the rice plant, clip
Rice leaves , and sprinkle them with lustral water. Red ,white and yellow theads ate tied with the
Bamboo basket . They also talk with sweet words to Mae Phosop in a manner of pleasing a
Prignant woman. The farmers also ask Mae Phosop to bring fertility to her farm and protect it from
Disturbances.
จึงต้องประกอบพิธีกรรม เพื่อแสดงความเคารพ ด้วยเหตุนี้จึงได้คิดสร้างสรรค์ประเพณี พิธีกรรมที่เกี่ยวกับ
ข้าวและการทำนาขึ้น
เมื่อข้าวตั้งท้อง หลังจากปักดำนาได้ระยะหนึ่ง ชาวบ้านเชื่อว่าแม่โพสพจะมีอาการเหมือน
คนแพ้ท้อง จึงจัดให้มีพิธีทำขวัญข้าวขึ้น โดยเฉพาะพวกผู้หญิงจะพากันไปเยี่ยมและพูดคุยกับแม่โพสพ
เมื่อถึงข้าวกอที่ขึ้นงอกงามที่สุดก็จะปักหลัก 1 หลัก นำชะลอมบรรจุหมากพลูจีบ ผลไม้
เปรี้ยวหวานมาให้แม่โพสพ มีการหวีตัดแต่งใบข้าว พรมน้ำอบ พร้อมกับผูกชะลอม ไว้กับหลัก ใช้ด้ายสีแดง ขาว เหลือง ผูกคอชะลอม เอาอกเอาใจข้าวเหมือนการเอาใจคนท้อง พูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ บอก
กล่าวกับแม่โพสพให้ไร่นาได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ไม่มีสิ่งใดมารบกวนที่นา
“แม่โพสี แม่โพสพ แม่นพดารา ไปอยู่ที่ต้นไร่ปลายนา ขอเชิญแม่มา”
Traditionally ,Thai people believe that “Khesn khao[rice spirit] ,or “Mae Phosop
[rice mother] , resides in the rice crop . They consider that it is necessary to perform a ceremony
To show respect and to give strength to the plant . This led to the creation of rites concerning rice
Farming and the rice crop.
When the rice crop begins to seed,people usually say that the rice begins to be
Pregnant.After a period of farming , it is believerd that Mar Phosop will have morning sickness.
Therefore,the khwan khao rite is held and farm wo,em usually pay a visit anv talk to Mae Phosop
When farmers arrive at one of the most beautiful thickets of rice ,they will hang
A bamboo basket at the end of a small flag post in the field. The basket contains betel and betal nut
And sweet and sour fruits as an offering to Mae Phosop. They will also comb the rice plant, clip
Rice leaves , and sprinkle them with lustral water. Red ,white and yellow theads ate tied with the
Bamboo basket . They also talk with sweet words to Mae Phosop in a manner of pleasing a
Prignant woman. The farmers also ask Mae Phosop to bring fertility to her farm and protect it from
Disturbances.
โครงการช้างวาดรูป Elephant Art Project
ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทย สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่จนน่าเกรงขามผูกพันกับวิถีชีวิตและ
วัฒนธรรมของชาวไทยมาตั้งแต่อดีตกาล เมื่อยามสงคราม ช้างคือพาหนะสำหรับเข้าประจัญบานกับข้าศึก
เมื่อบ้านเมืองสงบ ช้างคือผู้ช่วยทุ่นแรงในการขนย้ายท่อนซุงสำหรับสร้างบ้านเรือน วันนี้ช้างไม่เพียงเป็น
สัตว์สำหรับใช้แรงงานเท่านั้น แต่เป็นศิลปินผู้ผลิตผลงานศิลปะสู่สายตาชาวโลก ด้วยการร่วมมือกันของ
วังช้างอยุธยา แล เพนียด กับ Mr.Komar และ Melamid 2 ศิลปินชาวรัสเซียเดินทางไปทั่วประเทศไทย
เพื่อร่วมส่งเสริมให้ช้างวาดภาพ และนำภาพเหล่านั้นไปจำหน่ายต่างประเทศเป็นรายได้ให้กับผู้เลี้ยงช้าง
จากการประสานงานและร่วมมือกันของ 2 ศิลปิน ส่งผลให้วังช้างอยุธยา แล เพนียด สนับสนุนให้ช้างไทย
สร้างผลงานการวาดภาพมากขึ้น
ช้างวาดรูปเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถทำได้และสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับ
ควาญช้าง เพื่อเป็นต้นแบบแห่งการช่วยให้ช้างได้ทำงานน้อยลง ช้างแต่ละเชือกมีเอกลักษณ์และอุปนิสัย
ที่แตกต่างกัน บางเชือกวาดภาพดอกไม้ บางเชือกเป็นภาพศิลปะที่ลื่นไหลไปตามอารมณ์ การฝึกสอนช้าง
ให้วาดภาพนั้นต้องใช้เวลาและความผูกพันระหว่างช้าง ควาญช้างและผู้สอน ทั้งช้างและคนต้องเข้าใจตรงกัน
Elephant that formidable gigantic mammal, has long been regarded as the symbol
Of the Thai nation , thanks to its role in the livelihood of its people and culture. In war , it was the
Gallant animal in the battlefield helping its master to fight the foes. In peace, it served as the labor shifting teak logs needed for construction . Today , its role is no longer restricted to active labor;
Elephants are quite artistic having proved their artistic talent to the world as a result of the collaboration
Between Ayutthaya Elephant Camp and the Royal Elephant Enclosure and two Russian artists, Komar
And Melmid who came to Thailand in the hope of encouraging elephants to paint. With their works
Targeted at the foreign clientele, proceeds from the sale were earmarked to benefit mahouts. Since
Then ,collaboration and coordination with the two artists has contributed positively to increased effort
At Ayutthaya Elephant Camp and the Royal Elephant Enclosure in the promotion of elephants’ painting career.
Elephant Painting is an activity initiated in recognition of the mammal’s ability to paint,
Create job and occupation and generate income for the mahouts . The initiative was designed as a
Prototype effort to give the animals an easier life. Due to their individual attributes and personality, some
Paint flowers, others paint free-flow abstract paintings.
ยกยอ Yok Yo
ยอ คือเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นร่างแหผืนสี่เหลี่ยม มุมทั้งสี่ผูกติดกับคัน
สำหรับยก ยอมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ถ้าเป็นยอขนาดเล็กที่ยกได้คนเดียวจะใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกหรือใช้ไม้ไผ่
ลำเล็ก ๆ ไขว้กันเป็นกากบาท ปลายทั้งสี่ผูกติดกับมุมร่างแห ตรงกลางจะผูกติดกับไม้คานสำหรับยก
ซึ่งเป็นท่อนไม้ไผ่ขนาดพอเหมาะสำหรับยกขึ้นลงได้
ยอขนาดเล็กใช้จับปลาตามแหล่งน้ำนิ่งและไม่ลึก แต่ถ้าเป็นยอขนาดใหญ่ คันยอจะทำ
ด้วยไม้ไผ่ทั้งลำผูกไขว้กันอย่างมั่นคง ใช้ลำไม้ไผ่หรือไม้จริงทำเป็นโครง มีเครื่องถ่วงน้ำหนักทำมุมฉาก
กับคานยอคล้ายปั้นจั่น ยอขนาดใหญ่นิยมใช้ดักปลาในน้ำลึกบริเวณแม่น้ำ ลำคลองในภาคกลาง เช่น
ปลานสร้อย ปลาเค้า ปลากด เป็นต้น
Yo in Thai is a dip net for fishing, in both small and large sizes. Yok yo literally means to raise a dip net, which is in the form of a square with four corners tied to a handle. On a small yo ,raised
By one person , small pieces of bamboo made into a cross, with the four ends tied to the four corners of the net, are usually added to prevent the person from falling. The middle is fastened to a beam for raising
The beam is made of bamboo in a suitable size to facilitate the raising. The small yo is used to catch fish
In still and shallow water sources.
As for a large yo, the handle is made of bamboo and tied firmly to the net in a cross
Pattern. The structure is made of bamboo or some other kind of wood. There is a weight placed at a right
Angle to the beam, which looks like a crane. A large yo is usually used, in deep water in rivers or canals in the central region of Thailand to catch fish such as the mud carp, sheatfish, and bagrid catfish.
หมากรุกไทย Thai Chess
หมากรุก เป็นกีฬาในร่มอย่างหนึ่งที่คนไทยนิยมเล่นมานาน โดยใช้ความคิดชั้นเชิงกลเม็ด
ในการเอาชนะกันระหว่างบุคคลผู้มีสติปัญญาสองคนหรือสองฝ่าย ฝ่ายที่มีเชาว์ปัญญาชั้นเชิง หรือความ
รอบคอบสูงกว่าจะเป็นผู้ชนะ นอกจากยอมอ่อนข้อให้อีกฝ่ายเพื่อมิตรไมตรี
สมัยก่อนไม่นำหมากรุกมาเล่นในบ้านเพราะคำว่า “ รุก “ อาจทำให้คนในบ้านเอาแต่รุก
ไม่ยอมถอยจนเกิดข้อวิวาท จึงเห็นเล่นตามที่สาธารณะ แต่ปัจจุบันไม่ถือแล้ว แหล่งผลิตหมากรุกมือเยี่ยม
ได้แก่วัด ซึ่งมีการเล่นอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นยามว่างหรือเวลามีงาน อย่างงานวัด งานบวช งานศพ
ล้วนมีให้เล่นอย่างสนุกสนานจนถึงเช้าวันใหม่
พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษมีข้อความบรรยายเกี่ยวกับหมายรุกดั้งเดิมไว้ว่า
การเล่นหมากรุกมีในประเทศอินเดียมานานนับพันปี เกิดขึ้นครั้งพระรามไปล้อมเมืองลงกานางมณโฑเห็นว่าทศกัณฐ์จะต้องเป็นกังวลคิดต่อสู้สงครามจนไม่มีเวลาผาสุก นางรู้ว่าจะชักชวนทศกัณฐ์ให้พักผ่อนด้วยประการอย่างอื่นคงไม่ยอมแน่จึงเอากระบวนการทำสงครามคิดทำเป็นหมากรุก ชาวอินเดียเรียกหมากรุกนี้ว่า “จตุรงค์” เพราะเอากระบวนพล 4 เหล่า ทำเป็นตัวหมากรุก คือ หัสดี พลช้าง(ได้แก่โคน) 1 อัศว พลม้า 1 โรกะ พลเรือ 1 ปากิทะ พลราบ(ได้แก่เบี้ย) 1 ราชา (ขุน) เป็นจอมพล ตั้งเล่นบนแผ่น
กระดาษแบ่งเป็นตาราง 64 ช่อง อย่างกระดานหมากรุกทุกวันนี้
ต่อมาราว พ.ศ.200 ปี มีพระเจ้าแผ่นดินอินเดียพระองค์หนึ่ง สนพระทัยในการสงครามยิ่งนัก สามารถรบบ้านเมืองใกล้เคียงจนได้เป็นมหาราช ไม่มีใครจะต่อสู้ได้อีก ทำให้พระองค์รู้สึกรำคาญพระทัยจึงปรึกษาอำมาตย์ชื่อ “สัสสะ” ว่าจทำอย่างไรจึงจะมีความสุข มหาอำมาตย์จึงนำการเล่น”จตุรงค์”
มาดัดแปลงใหม่ ให้เล่นได้ 2 คน โดยใช้ปัญญาความคิดเอาชนะกันเหมือนทำอุบายสงคราม พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงสำราญพระราชหฤทัยมาก บ้านเมืองก็สุขสมบูรณ์
กระบวนการเล่นหมากรุกนี้ต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งนำไปคิดดัดแปลง
แก้ไขอีกทอดหนึ่ง หมากรุกที่เล่นในนานาประเทศจึงผิดเพี้ยนกันไป แต่ยังคงเค้ามูลอย่างเดียวกันคือ ต้นแบบมาจากประเทศอินเดีย
Makruk, or Thai Chess, is one of the most popular indoor games among Thai people.
It is played on a board between two people or two sides, who have to think strategically to defeat their
Rival. The player with the better strategy will win the game ,unless, of course , a player intentionally
Holds back to let the other side win for the sake of friendship.
In the old days, people would not play malruk at home, they believed that the word
‘ruk’ [meaning to check] might lead to disputes among family members, as they would not compromise with one another. So this game was normally found in various public places, such as temples and clubs.
Today it is no longer restricted to public places. Even so, the local temple has become the place where
Good makruk players are produced. Makruk is still played widely as a pastime or at temple fairs on various occasions , such as ordination and funeral ceremonies. It is sometimes played all day and all
Night , until the break of the day.
A translation a historical book from English into Thai by Prince Damrong Rajanubhab
A son of King Mongkut [Rama iv] , states that makruk had its origin in India thousands of years ago.
The Ramayana epic has it that Rama led an army to lay siege to the city of Langka, ruled by the demon-
King Ravana [ Thotsakan] Montho ,Ravana’s wife , was concerned that her husband was so engaged in
The struggle to protect the city that he had no time for recreation. Realizing that her husband would not
Easily turn away form thoughts of battle, she invented a chessboard representing a battlefield and armies maneuvering. The Indians called it ‘chaturong’ , with four military corps used as chessmen. They included the elephant [khon] , the horse [ma] , the navy [rua] , and the infantry [rap or bia]. Raja , or king
[khun], is the most important piece on the chessboard.
In the year 200 B.E. [around 350 B.C.] , an Indian king recognized as a great monarch
Was successful in making war against all neighboring countries. He became unhappy when he realized there were no more countries he could do battle with. The king consulted a nobleman named Sassa on how to be happy. Sassa modified the chaturong game, so that it could be played by only two persons ,
Representing the armies of the rival countries . The king enjoyed playing this game very much and his
Country became peaceful and prosperous.
The pastime of playing chess was later introduced in other countries , which have made
Many modifications. So although the game varies from country to country , every version shares the same
Root in Indian history and legend.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)