วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

หมากรุกไทย Thai Chess




หมากรุก เป็นกีฬาในร่มอย่างหนึ่งที่คนไทยนิยมเล่นมานาน โดยใช้ความคิดชั้นเชิงกลเม็ด
ในการเอาชนะกันระหว่างบุคคลผู้มีสติปัญญาสองคนหรือสองฝ่าย ฝ่ายที่มีเชาว์ปัญญาชั้นเชิง หรือความ
รอบคอบสูงกว่าจะเป็นผู้ชนะ นอกจากยอมอ่อนข้อให้อีกฝ่ายเพื่อมิตรไมตรี
สมัยก่อนไม่นำหมากรุกมาเล่นในบ้านเพราะคำว่า “ รุก “ อาจทำให้คนในบ้านเอาแต่รุก
ไม่ยอมถอยจนเกิดข้อวิวาท จึงเห็นเล่นตามที่สาธารณะ แต่ปัจจุบันไม่ถือแล้ว แหล่งผลิตหมากรุกมือเยี่ยม
ได้แก่วัด ซึ่งมีการเล่นอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นยามว่างหรือเวลามีงาน อย่างงานวัด งานบวช งานศพ
ล้วนมีให้เล่นอย่างสนุกสนานจนถึงเช้าวันใหม่
พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษมีข้อความบรรยายเกี่ยวกับหมายรุกดั้งเดิมไว้ว่า
การเล่นหมากรุกมีในประเทศอินเดียมานานนับพันปี เกิดขึ้นครั้งพระรามไปล้อมเมืองลงกานางมณโฑเห็นว่าทศกัณฐ์จะต้องเป็นกังวลคิดต่อสู้สงครามจนไม่มีเวลาผาสุก นางรู้ว่าจะชักชวนทศกัณฐ์ให้พักผ่อนด้วยประการอย่างอื่นคงไม่ยอมแน่จึงเอากระบวนการทำสงครามคิดทำเป็นหมากรุก ชาวอินเดียเรียกหมากรุกนี้ว่า “จตุรงค์” เพราะเอากระบวนพล 4 เหล่า ทำเป็นตัวหมากรุก คือ หัสดี พลช้าง(ได้แก่โคน) 1 อัศว พลม้า 1 โรกะ พลเรือ 1 ปากิทะ พลราบ(ได้แก่เบี้ย) 1 ราชา (ขุน) เป็นจอมพล ตั้งเล่นบนแผ่น
กระดาษแบ่งเป็นตาราง 64 ช่อง อย่างกระดานหมากรุกทุกวันนี้
ต่อมาราว พ.ศ.200 ปี มีพระเจ้าแผ่นดินอินเดียพระองค์หนึ่ง สนพระทัยในการสงครามยิ่งนัก สามารถรบบ้านเมืองใกล้เคียงจนได้เป็นมหาราช ไม่มีใครจะต่อสู้ได้อีก ทำให้พระองค์รู้สึกรำคาญพระทัยจึงปรึกษาอำมาตย์ชื่อ “สัสสะ” ว่าจทำอย่างไรจึงจะมีความสุข มหาอำมาตย์จึงนำการเล่น”จตุรงค์”
มาดัดแปลงใหม่ ให้เล่นได้ 2 คน โดยใช้ปัญญาความคิดเอาชนะกันเหมือนทำอุบายสงคราม พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงสำราญพระราชหฤทัยมาก บ้านเมืองก็สุขสมบูรณ์
กระบวนการเล่นหมากรุกนี้ต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งนำไปคิดดัดแปลง
แก้ไขอีกทอดหนึ่ง หมากรุกที่เล่นในนานาประเทศจึงผิดเพี้ยนกันไป แต่ยังคงเค้ามูลอย่างเดียวกันคือ ต้นแบบมาจากประเทศอินเดีย



Makruk, or Thai Chess, is one of the most popular indoor games among Thai people.
It is played on a board between two people or two sides, who have to think strategically to defeat their
Rival. The player with the better strategy will win the game ,unless, of course , a player intentionally
Holds back to let the other side win for the sake of friendship.
In the old days, people would not play malruk at home, they believed that the word
‘ruk’ [meaning to check] might lead to disputes among family members, as they would not compromise with one another. So this game was normally found in various public places, such as temples and clubs.
Today it is no longer restricted to public places. Even so, the local temple has become the place where
Good makruk players are produced. Makruk is still played widely as a pastime or at temple fairs on various occasions , such as ordination and funeral ceremonies. It is sometimes played all day and all
Night , until the break of the day.
A translation a historical book from English into Thai by Prince Damrong Rajanubhab
A son of King Mongkut [Rama iv] , states that makruk had its origin in India thousands of years ago.
The Ramayana epic has it that Rama led an army to lay siege to the city of Langka, ruled by the demon-
King Ravana [ Thotsakan] Montho ,Ravana’s wife , was concerned that her husband was so engaged in
The struggle to protect the city that he had no time for recreation. Realizing that her husband would not
Easily turn away form thoughts of battle, she invented a chessboard representing a battlefield and armies maneuvering. The Indians called it ‘chaturong’ , with four military corps used as chessmen. They included the elephant [khon] , the horse [ma] , the navy [rua] , and the infantry [rap or bia]. Raja , or king
[khun], is the most important piece on the chessboard.
In the year 200 B.E. [around 350 B.C.] , an Indian king recognized as a great monarch
Was successful in making war against all neighboring countries. He became unhappy when he realized there were no more countries he could do battle with. The king consulted a nobleman named Sassa on how to be happy. Sassa modified the chaturong game, so that it could be played by only two persons ,
Representing the armies of the rival countries . The king enjoyed playing this game very much and his
Country became peaceful and prosperous.
The pastime of playing chess was later introduced in other countries , which have made
Many modifications. So although the game varies from country to country , every version shares the same
Root in Indian history and legend.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น