วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

ชามตราไก่

ชามตรา ไก่
จากไก่ขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของนครลำปาง รังสรรค์ผลิตภัณฑ์ลือชื่อ “ชามตราไก่”
ผลิตภัณฑ์เซรามิคที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวและถือได้ว่า
เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของลำปางคือ ชามตราไก่ เหตุที่ชาวบ้านนิยมวาดรูปไก่ลงบนชามเซรามิค
เพราะลำปางเป็นเมืองเก่าในดินแดนล้านนาอันมีไก่ขาวเป็นสัญลักษณ์ ดังนั้นเราจึงเห็นลวดลายของไก่
บนชามเซรามิคได้โดยทั่วไปในจังหวัดลำปาง
คุณวรัญญู สาปคำ และบิดา ตัดสินใจตั้งโรงงานเซรามิคขึ้นด้วยเงินลงทุนเริ่มแรกเพียง 1 ล้านบาท
เพื่อช่วยแก้ปัญหาการย้ายถิ่นฐานเข้าไปทำงานในเมืองของชาวบ้าน และยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการทำเครื่องปั้นของบรรพบุรุษไว้ จึงทำให้ชาวบ้านกว่า 20 หลังคา เรือนในหมู่บ้านศาลาเม็ง หมู่ที่ 8 ตำบล
ท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ที่เมื่อว่างเว้นจากการเกษตรอันเป็นงานหลักประจำครอบครัว ก็นำเวลา
ที่เหลือมาใช้เนื้อที่ภายในบ้านของตน จัดตั้งเป็นโรงงานขนาดย่อม เพื่อผลิตถ้วยชามตราไก่ และผลิตภัณฑ์เซรามิค โดยส่งจำหน่ายผ่านทางของคุณวรัญญู อันเป็นการขจัดปัญหาการย้ายถิ่นและสร้างรายได้ให้กับ
ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการทำถ้วยชามตราไก่และผลิตภัณฑ์เซรามิคอื่น ๆ มีดังนี้ เริ่มต้นจากการขึ้นรูป ซึ่งในที่นี้
มี 2 วิธีด้วยกันคือ การขึ้นรูปด้วยการปั้น และการขึ้นรูปด้วยการหล่อน้ำดิน ขั้นตอนต่อจากนั้นคือ การวาด
ลวดลาย ส่วนใหญ่มักนิยมวาดรูปไก่แล้วทำการเติมสีตามลวดลายที่วาดไว้ หลังจากสีแห้งแล้วก็นำไปชุบเคลือบ เพื่อทำเงากระจก เสร็จแล้วนำไปเผาด้วยเตาไฟเบอร์ที่ความร้อนอุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส
เมื่อได้ผลิตภัณฑ์เซรามิคที่เสร็จสิ้นตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วนั้น ขั้นต่อไปคือ การคัดคุณภาพสินค้าและ
บรรจุหีบห่อ เป็นการเสร็จตามกระบวนการทั้ง 7 ขั้นตอน โดยผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น ใช้เวลาถึง 7 วัน เนื่องจาก
ต้องใช้เวลา 1 วัน ต่อ 1 ขั้นตอน
หมู่บ้านศาลาเม็งแห่งนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวโอทอปของจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 แต่ที่นี่มิได้ผลิตชามตราไก่ที่มีหลายขนาดและหลายรูปทรงอันมีชื่อของจังหวัดลำปางเพียงอย่าง
เดียวเท่านั้น แต่ยังมีผลิตภัณฑ์จากเซรามิคชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โมบาย แจกัน ชุดอาหาร ของแต่งบ้าน
ของที่ระลึก ซึ่งมีทั้งรูปแบบ สีสัน และลวดลายที่แปลกตา โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ได้รับความสนใจจาก
นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นสินค้าส่งออกไปยังประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่นอีกด้วย
สนใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิคเป็นของฝากจากภาคเหนือของไทย



From the modest white hen symbolizing the city of Lampang , creative touches have turned
this particular fowl into a staying design on ceramic bowls , a popular product commonly know as Cham
Tra Kai
Cham Tra Kai , a ceramic bowl with a hen design , is the most popular product favored by
Visitors to Lampang as the design is considered the symbol of the province , However the reason ceramic
Bowls from Lampang are desorated with a hen is attributed to the fact that Lampang , being an ancient
city of the Lamma region, has been symbolized traditional by the white hen . It has , accordingly ,found
itself on the surface of ceramic bowls throught the province.
Warunyoo Sabkham and his father decided to set up a ceramic factory initially with one
Million bath in an attempt to ease the problems of the local people migrating to the urban areas in search
Of employment , and a means to help preserve the age-old art of pottery.
As a result , more than 20 households in the village of Sala Meng , moo 8 tumboon Tha
Pha , district of Koh Kha , Lampang provice , have transformed any free space in their residences into
Mini workshops to chum out bowls and cups with the hen design and other ceramic products. These are
Eventually marketed through Khun Warunyoo ‘s factory, effectively helping solve the migration problem
While boinging supplementary income to lecal people . This approach seems to work well with local folk,
Particularly after the harvest, which is the majorsource of income.
Making Cham Tra Kai bowls , cups and other ceramic products starts with the moldings
Based on either of two techniques, throwing by sculpting and hand building with the aid of water to keep
The clay moist. Once the throwing is over , the design [normally a hen ] follows with the next stage coloring-waiting in the wings.
After coloring the products have to be left to dry thoroughly before glazing to secure a
Glossy effect . At this point the pottery is ready for the fiber kiln that earches temperatures of 1,250 Celsius. The item is then subject to a quality control test ensure only the best products are packaged
For distribution . In general ,each item goes through seven stages and takes seven days to complete,
Only one stage per day until the entire production process is completed.
In 1987 ,Sala Meng village was named Lampang ‘s OTOP [one tumboon one product]
Tourist village, but the famouse Cham Tra Kai , of different shapes and forms , is far from the only
Product emanaging from this province. Lampang boasts other ceramic products including mobiles, vases, tableware and decorative items as well as souvenirs of different sorts, colors and distinct designs that
Are well received by both foreign and domestic tourists . Indeed, Cham Tra Kai is exported to Japan,
And Europe.
You may purchase and have these products souvenirs of northern Thailand.

3 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบ
    1. สุดยอดเลยว้าวววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว
      วววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว

      ลบ